เรื่อง ทิศทางการส่งข้อมูล
ในระบบการสื่อสาร สามารถส่งข้อมูลในทิศทางต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่รับส่งข้อมูลนั้นได้รับการออกแบบเพื่อการส่งข้อมูลในรูปแบบใด สำหรับทิศทางการส่งข้อมูลนี้สามารถมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1. การสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex)
เป็นการสื่อสารแบบทิศทางเดียว โดยมีแต่ละฝ่ายทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเท่านั้น เช่น ฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ส่ง ดังนั้นอีกฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่เป็นผู้รับเท่านั้น ตัวอย่างของการสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ และการส่งข้อความผ่านทางเพจเจอร์ เป็นต้น
2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน ( half-duplex )
เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล จะเป็นผู้ส่งข้อมูลพร้อมกัน ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ ลักษณะการส่งข้อมูลแบบนี้ เช่น การสื่อสารแบบวิทยุสื่อสาร ซึ่งผู้ที่จะส่งข้อมูลที่จะส่งข้อมูลต้องกดปุ่มเพื่อส่งข้อมูล ในขณะนั้นผู้อื่นจะเป็นผู้รับข้อมูล
3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน( full- duplex)
เป็นการสื่อสารข้อมูลทีมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผูส่งและผู้รับข้อมูล โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นผู้ส่งและผู้รับได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถ ส่งข้อมูลได้พร้อมกัน ลักษณะการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งทั้งสอองฝ่ายสามารถพูดพร้อมกันได้ ในเวลาเดียวกัน
โดยปกติการสื่อสาารข้อมุลส่วนใหญ่จะไม่ใช้การส่งข้อมุลแบบสองทิศทางพร้อมกันตัวอย่าง เช่น การใช้โทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะสามารถส่งข้อมูล ได้สองทิศทางพร้อมกัน แต่เวลาพูดยังคงต้องสลับกันพูด อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งบางครังดูเหมือนว่าเป็นแบบสองทิศทาง พร้อมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน ซึ่งช่วงเวลาที่สลับกันนี้เป็นช่วงเวลาที่เร็วมาก จึงดูเหมือนว่า เป็นการส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น