วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 2 เรื่องแบบจำลอง TCP/IP (TCP/IP Model)

 แบบจำลอง TCP/IP (TCP/IP Model)


  1. 1. แบบจำลอง TCP/IP (TCP/IP Model)
  2. 2. TCP/IP ถูกนำมำใช้เป็นโปรโตคอลมำตรฐำนที่ใช้งำน บนเครือข่ำยอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบบจำลอง TCP/IP ได้มีกำร พัฒนำขึ้นมำก่อนแบบจำลอง OSI แต่ก็นับได้ว่ำเป็นควำมโชคดีที่ แบบจำลองทั้งสองมีหลักกำรทำงำนที่คล้ำยคลึงกันมำก โดย TCP/IP จะมีชั้นสื่อสำรเพียง 5 ชั้น ซึ่งประกอบด้วยชั้นสื่อสำรทำง กำยภำพ ชั้นสื่อสำรเชื่อมต่อข้อมูล ชั้นสื่อสำรควบคุมเครือข่ำย ชั้น สื่อสำรเพื่อนำส่งข้อมูล และชั้นสื่อสำรกำรประยุกต์ โดยชั้นสื่อสำร กำรประยุกต์ใน TCP/IP ก็คือกำรรวมกันของชั้นสื่อสำรควบคุม หน้ำต่ำง ชั้นสื่อสำรนำเสนอข้อมูล และชั้นสื่อสำรกำรประยุกต์ของ แบบจำลอง OSI นั่นเอง
  3. 3. 7. ชั้นสื่อสำรกำรประยุกต์ 6. ชั้นสื่อสำรกำรนำเสนอข้อมูล 5. ชั้นสื่อสำรควบคุมหน้ำต่ำงสื่อสำร 4. ชั้นสื่อสำรเพื่อนำส่งข้อมูล 3. ชั้นสื่อสำรควบคุมเครือข่ำย 2. ชั้นสื่อสำรเชื่อมต่อข้อมูล 1. ชั้นสื่อสำรทำงกำยภำพ รูปที่ 2.2 เปรียบเทียบระหว่ำงแบบจำลอง OSI และสถำปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP 5. ชั้นสื่อสำรกำรประยุกต์ 4. ชั้นสื่อสำรเพื่อนำส่งข้อมูล 3. ชั้นสื่อสำรควบคุมเครือข่ำย 2. ชั้นสื่อสำรเชื่อมต่อข้อมูล 1. ชั้นสื่อสำรทำงกำยภำพ
  4. 4. สำหรับหน้ำที่ต่ำงๆ ของแต่ละชั้นสื่อสำรในสถำปัตยกรรมชุด โปรโตคอล TCP/IP สำมำรถแสดงรำยละเอียดได้ดังต่อไปนี้ ชั้นสื่อสำรทำงกำยภำพและเชื่อมต่อข้อมูล (Physical and Data Link Layer) ชั้นสื่อสำรทั้งสองมีหน้ำที่ในกำรควบคุมฮำร์ดแวร์และกำรรับส่งข้อมูล ผ่ำนเครือข่ำย ชั้นสื่อสำรควบคุมเครือข่ำย (Network Layer) ทำหน้ำที่ในกำรเลือกเส้นทำง (Routing) เพื่อจัดส่งข้อมูลใน รูปแบบของแพ็กเก็ตไปตำมเส้นทำงที่กำหนดจนกระทั้งถึงปลำยทำงที่ต้องกำร
  5. 5ชั้นสื่อสสำรเพื่อนำส่งข้อมูล (Transport Layer) ทำหน้ำที่จัดเตรียมข้อมูลเพื่อส่งจำกตำแหน่งต้นทำงไปยังปลำยทำง ชั้นสื่อสำรกำรประยุกต์ (Application Layer) เป็นชั้นสื่อสำรประยุกต์ซึ่งเป็นส่วนของผู้ใช้งำนที่ใช้ติดต่อกับระบบ อนุญำตให้ยูสเซอร์ที่ใช้งำนซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นต่ำงๆ ที่อำจมีหลำยรูปแบบ ด้วยกันโดยมุ่งเน้นกำรอินเตอร์เฟซกับผู้ใช้งำนเป็นสำคัญกล่ำวคือ ในชั้นสื่อสำร กำรประยุกต์นี้ จะมีโปรแกรมประยุกต์ต่ำงๆ มำกมำยที่จัดเตรียมไว้เพื่อควำม สะดวกในกำรอินเตอร์เฟซระหว่ำงยูสเซอร์กับคอมพิวเตอร์ และสนับสนุนกำร บริกำรต่ำงๆ โดยตัวอย่ำงโปรโตคอลในลำดับชั้นนี้ได้แก่ Telnet,FTP,SMTP,HTTP เป็นต้น

บทที่ 2 เรื่องแบบจำลอง OSI (OSI Model)

แบบจำลองOSI 


แบบจำลอง OSI สำหรับเครือข่าย
                กระบวนการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการสื่อสาร ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะครอบคลุมเรื่องการรับส่งข้อมูล การเข้ารหัส การตรวจจับข้อมูลผิดพลาด ดังนั้นหน่วยงานกำหนดมาตรฐาน หรือที่เรียกสั้นๆว่า ISO ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบามสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานสากล โดย ISO ได้มีการกำหนดระบบเปิดที่เรียกว่าแบบจำลง OSI (Open Systems Interconnection) เพื่อใช้สำหรับเป็นแบบจำลองเพื่อการอ้างอิงบนเครือข่ายตามมาตรฐานสากล
                จุดประสงค์ของแบบจำลอง 
OSI ก็เพื่ออนุญาตให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าพีซีคอมพิวเตอร์กับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้นใช้สถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน โดยต่างก็ใช้ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งสองระบบไม่สามารถสื่อสารกันได้ เนื่องจากเป็นคนละระบบหรือมีแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตา นั่นไม่ใช้ปัญหาด้านการสื่อสารข้อมูลที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ต่างระบบจขะไม่สามารถสื่อสารกันได้ กล่าวคือแบบจำลอง OSI นี้เจะอนุญาตให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันในสถาปัตยกรรรมสมารถสื่อสารร่วมกันได้โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ และที่สำคัญ แบบจำลอง OSI จัดเป็นแบบจำลองที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้าใจในสถาปัตยกรรมเครือข่ายลำมาประยุกต์ใช้ในระบบการสื่อสารระดับสากลภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
                แบบจำลอง 
OSI มีการแบ่งการทำงานอกเป็นลำดัลบชั้น ที่เรียกว่าชั้นสื่อสาร (layer) แต่ละชั้นสื่อสารจะมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบแตกต่างกัน การสื่อสารจะต้องเรียงกันตามลำดับชั้นสื่อสาร โดยชั้นสื่อสารที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะให้บริการแก่ชั้นสื่อสารที่อยู่ลำดับสูงกว่า ไม่สารถสื่อสารข้ามลำดับชั้นได้
             แบบจำลอง 
OSI ประกอบไปด้วยชั้นสื่อสาร 7 ชั้นด้วยกัน ซึ่งแสดงไว้ในรูปที่ 1.6 โดยแนวคิดของการแบ่งเป็นชั้นสื่อสารมีเหตุผลสำคัญดังนี้
              1.การแบ่งออกเป็นชั้นสื่อสาร ก็เพื่อลดความซับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
2.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารจำแนกบทบามหน้าที่ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน
3.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
4.เพื่อให้การทำงานในแต่ละชั้นสื่อสารสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
5.เพื่อป้องกันกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนบนชั้นสื่อสารหนึ่งๆ ม่ให้เกิดผลกระทบต่อชั้นสื่อสารในลำดับอื่นๆ
6.จำนวนชั้นสื่อสารต้องมีจำนวนเหมาะสมเพียงพอต่อการจำแนกหน้าที่ มิใช่มีชั้นสื่อสารมากเกินความจำเป็นหรือน้อยเกินไป
7.ชั้นสื่อสารการประยุกต์
6.ชั้นสื่อสารการนำเสนอข้อมูล
5.ชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างสื่อสาร
4.ชั้นสื่อสารเพื่อนำส่งข้อมูง
3.ชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่าย
2.ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล
1.ชั้นสื่อสารทางกายภาพ
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 1.6 แบบจำลอง OSI ที่ประกอบไปด้วยชั้นสื่อสาร 7 ชั้น
สำหรับชั้นสื่อสารทั้ง 7 ในแบบจำลอง OSI นี้ แต่ละชั้นสื่อสารจะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.             ชั้นสื่อสารทางกายภาพ (Physical Layer) จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางกายภาพด้านการสื่อสารระหว่งอุปกรณ์ ด้วยการกำหนดวิธีควบลคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับบิต จะต้องใช้แรงดันไฟฟ้าเท่าใด ใช้สายเคเบิลชนิดใดในการรับส่งสัญญาณ การส่งข้อมูลเป็ฯแบบทิศทางเดียวหรือสองทิศทาง จะต้องเริ่มต้นติดต่อหรือสิ้นสุดการติดต่ออย่างไร รวมถึงลักษณะการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในเครือข่ายเป็นต้น
2.             ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล (Data Link Layer) เป็นชั้นสิ่สารที่รวบรวมข้อมูลจากชั้นสื่อสารทางกายภาพ ด้วยการกำหนดรูปแบบของข้อมูลที่ส่งผ่านยภายในเครือข่ายให้อยู่ในรูปแบบของ เฟรม (Frame) ทั้งนี้จะรวมถึงวิธีหรือกลไกในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย กล่าวคือ การส่งข้อมูลในเครือข่าย ข้อมูลที่ถูกส่งไปมีโอกาสที่จะสูญหายหรือมีความเสียหายบางส่วนได้ ดังนั้นชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูลนี้จะดำเนินการตรวจสอบความผิดปกติเหล่านี้ได้ โดยหากพบความผิดปกติขึ้น ก็จะแจ้งข้อมูลกลับไปยังผู้ส่งให้รับทราบเพื่อส่งข้อมูลชุดเดิมซ้ำกลับมาใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งข้อมูลซ้ำกลับมาใหม่ในบางครั้งอาจทำให้เกิดข้อมูลชุดเดียวกันซ้ำกันถึง 2 เฟรมก็ได้ เนื่องจากชุดข้อมูลที่ส่งไปครั้งแรกความจริงแล้วอาจไม่ได้สูญหายไปไหน แต่อาจเกิดปัญหาระหว่างการเดินทางส่งผลให้ต้องใช้เวลาเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่าปกติทั่วไป ดังนั้นกรณีที่ค้นพบข้อมูลชุดเดียวกันซ้ำถึง 2 เฟรม ก็จะต้องมีกลบไกในการกำจัดเฟรมข้อมูลซ้ำซ้อนเหล่านี้ออก
3.             ชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่าย (Network Layer) จะทำหน้าที่จัดการกับรูปแบบข้อมูลที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) ที่จัดส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อยต่างๆจำนวนมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์คือ จะต้องมีการวางเส้นทางเดินของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางอย่างไร เพื่อให้โหนดที่ทำหน้าส่งข้อมูล สมารถส่งข้อมูลไปยังโหนดปลายทางได้ในที่สุด
4.             ชั้นสื่อสารเพื่อนำส่งข้อมูล (Trasport Layerเป็นชั้นสื่อสารที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดที่มีการรับส่งกันระหว่างโหนดต้นทางจนกระทั่งถึงโหนดปลายทาง ด้วยการรับประกันว่าข้อมูลจะถูกส่งไปถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน และอาจจำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลใหม่ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
5.             ชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างสื่อสาร (Session Layer) ชั้นสื่อสารนี้จะดูแลและจัดการการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างคอนเน็กชั่นเพื่อการติดต่อสื่อสารไปจนกระทั่งยุติการสารสื่อด้วยการยกเลิกคอนเน็กชั่นระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม หสกการสื่อสารในชั้นนี้เกิดความล้มเหลวขึ้นมา ย่อมทำให้ข้อมูลเสียหาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มต้นการทำงานรอบใหม่บนหน้าต่างสื่อสารนั้น ตัวอย่างเช่น มีการเปิดหน้าต่างสื่อสารเพื่อการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างต้นทางไปยังปลายทาง หากเกิดการส่งข้อมูลล้มเหลวไปกลางคัน ก็อาจจำเป็นต้องยกเลิกหน้าต่างสื่อสารนั้น และเปิดหน้าต่างสื่อสารใหม่เพื่อดำเนิการถ่ายโอนข้อมูลกันรอบใหม่ เป็นต้น
6.             ชั้นสื่อสารนำเสนอข้อมูล (Presentatiion Layer) จะดำเนินการแปลงรูปแบบข้อมูลที่ได้รับมาจากชั้นสื่อสาการประยุกต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับรหัสแทนข้อมูลที่อาจมาจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน เช่น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ใช้รหัสแทนข้อมูลแบบ EBCDIC ในขณะที่เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ใช้รหัสแทนข้อมูลแบบ ASCII ดังนั้นชั้นสื่อสารนี้จะดำเนินการจัดการเพื่อให้ทั้งสองฝั่งสามารถเข้าใจความหมายและรับทราบข้อมูลที่ตรงกัน ถึงแม้คอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันจะใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันก็ตาม
7.             ชั้นสื่อสารการประยุกต์ (Application Layer) เป็นชั้นสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร ผู้ใขช้งานสามารถใช้โปรแกรมประยบุกต์ต่างๆเพื่อเข้าถึงเครือข่าย โดยจะมีอินเตอร์เฟซเพื่อให้การโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันจะใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันก็ตาม
ภายหลังที่ได้ทราบถึงภาระหน้าที่ของชั้นสื่อสารทั้ง 7 บนแบบจำลอง OSI  แล้ว ก็จะพบว่าชั้นสื่อสารในแต่ละชั้นแบบจำลอง OSI นั้นจะมีบทบาทหน้าที่ค่อนข้างชัดเจน ซึงไม่ด้แตกต่างจากเหตุการณ์การดำเนินธุรกิจของมนุษย์เลย โดยพิจารณาจากตารางที่ 1.1 ซึ่งเป็นตารางเปรียบเทียบระหว่างแบบจำลองOSI กับตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจ ที่สามารถทำให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละชั้นสื่อสารได้มากยิ่งขึ้น

ตารางที่ 1.1 การเปรีบยเทียบแบบจำลอง 
OSI กับตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจ
แบบจำลอง OSI
ภาระหน้าที่
เปรียบเทียบกับตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจ
7.ชั้นสื่อสารการประยุกต์
โปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่อำวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ตามความต้องการ
สินค้าสำเร็จรูปที่ผู้ซื้อสมารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
6.ชั้นสื่อสารนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจความหมายตรงกันที่งสองฝั่ง
เคาน์เตอร์แสดงสินค้า
5.ชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างการสื่อสาร
ควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางกับปลายทางให้สามารถสื่อสารได้จนสำเร็จ
เจ้าของร้านโทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้าเพื่อสอบถามยืนยันถึงสินค้าที่ได้จัดส่งไป
4.ชั้นสื่อสารเพื่อนำส่งข้อมูล
การรับประกันการส่งข้อมูลให้ถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน
การจัดส่สินค้า หรือการส่งพัสดุลงทะเบียนไปรษณีย์
3.ชั้นสื่อสารควบคุม
การกำหนดเส้นทางเพื่อารส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
การกระจายสินค้าไปตามแต่ละพื้นที่
2.ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล
การจัดรูปแบบข้อมูลในรูปแบบของเฟรมข้อมูล
การบรรจุสิค้าลงในหีบห่อพร้อมระบุที่อยู่ปลายทาง
1.ชั้นสื่อสารทางกายภาพ
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ สายสัญญาณ และอุปกรณ์เชื่อมต่อ
รถบรรทุกสินค้า และถนน

บทที่ 2 เรื่ององค์กรมาตรฐาน

องค์กรในการจัดการมาตรฐาน (Standard Organization)


องค์กรในการจัดการมาตรฐาน (Standard Organization)
การออกแบบเครือข่ายแบบต่างๆ และ Topology ต่างๆ ต้องการมาตรฐานที่จะเป็นแนวทางในการเลือกใช้
อุปกรณ์เครือข่ายและบุคลากรมาตรฐานจะจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการส่งข้อมูล,รายละเอียด
ของอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่จะต้องใช้ในระบบเครือข่าย นอกจากนี้ยังบอกถึง ระยะเวลาในการเดินทางของ Packet จากNode หนึ่งไปยัง Node อื่นๆ ในระบบเครือข่าย 
กฎพื้นฐานเมื่อจะซื้ออุปกรณ์เครือข่ายคือจะต้องซื้ออุปกรณ์ที่ผลิตตามมาตรฐานเครือข่ายหรืออุปกรณ์นั้น
สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน เครือข่ายและควรหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่สนับสนุนโดย ผู้ขายเดี่ยว 


1.American National Standards Institute
หนึ่งในองค์กรที่จัดการมาตรฐานที่รวบรวมเทคโนโลยีต่างๆเกิดขึ้น คือ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติแห่ง
สหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) กลุ่มนี้ได้ตั้งที่ มาตรฐานเกี่ยวกับ 
FiberOptic cabletrans missions นอกจากนี้ ANSI ยังเป็นตัวแทนของสหรัฐอเมริกาในองค์กร
จัดการมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization)


2.Institute Of Electrical And Electronics Engineering (IEEE)
IEEE เป็นองค์กรมาตรฐานที่จัดการมาตรฐานทางด้านการสื่อสาร (Communication) โดยมี 
The Computer Society Local Network Committee ซึ่งเป็นคณะกรรมการภายใต้ IEEE 
ได้ออกมาตรฐานเกี่ยวกับLANออกมาใช้มากมายในปัจจุบันนอกจากนี้ยังกำหนดมาตราฐานเกียวกับ
การรวมเสียงเข้าไปในการเครือข่ายข้อมูลด้วย


3.International Standards Organization (ISO)
องค์กรจัดการมาตรฐานระหว่างประเทศตั้งอยู่ในกรุงเจนนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์แต่ละชาติจะมีส่วนร่วมในการจัดการมาตรฐานต่างๆในองค์กรนี้ เช่น ISO ร่วมมือกับ ANSI ในการพัฒนา
OSI Model (Open Systems Interconnection Model) ขึ้นในปี 1974 เพื่อเป็นแบบจำลองในการสื่อมารข้อมูลในระบบเครือข่ายและแบบจำลองนี้ก็ถูกผลักดันให้เป็นมาตรฐานของสถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา OSI ประกอบด้วยเจ็ดชั้น โดยในแต่ละชั้นจะมีการทำงาน จำเพาะเจาะจงเพื่อจัดเตรียมสำหรับการบริการเครือข่ายรวม และการสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่1 ตอนที่2 เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพของเครือข่าย

เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพของเครือข่าย
         

สมรรถนะ


  • เวลาที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล - เวลาถ่ายโอนไปยังปลายทาง หรือจากปลายทางมาต้นทาง เช่น การอัพโหลด การดาวน์โหลด เป็นต้น หรืออาจจะเป็นช่วงระยะเวลาการร้องขอข้อมูล จนได้รับข้อมูลกลับมา
  • จำนวนผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย - จำนวนผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย เนื่องจากหากมีผู้ใช้งานมากเกินไป ก็จะทำให้การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายก็มากตามไปด้วย ทำให้ใช้เวลาในการสื่อสารมากขึ้น และส่งต่อประสิทธิภาพการใช้งานด้อยลงไป
  • ชนิดสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล - เนื่องจากสื่อกลางแต่ละประเภทมีความสามารถรองรับความเร็วที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรจะเลือกใช้สื่อกลางที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานระบบเครือข่ายของเรา
  • อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ - ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ย่อมส่งผลต่อความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทีมีซีพียู ประมวลผลด้วยความเร็วสูง หรืออุปกรณ์สวิตช์ที่ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ย่อมส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพโดยการรวมของระบบที่ดี
  • ซอฟต์แวร์ - เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อสมรรถนะโดยรวมของเครือข่ายเช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพ ย่อมมีระบบการทำงาน และควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

ความน่าเชื่อถือ


  • ปริมาณความถี่ของความล้มเหลวในการส่งข้อมูล
  • ระยะเวลาที่ใช้การกู้คืนข้อมูลหรือกู้คืนระบบกรณีให้สามารถใช้งานได้ตามปกติให้ได้ระยะเวลารวดเร็วที่สุด
  • การป้องกันเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้ระบบเกิดความล้มเหลว

ความปลอดภัย

         เป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด โดยเน้นไปที่ความสามารถที่จะป้องกันบุคคล ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล หรือระบบเครือข่าย โดยอาจใช้รหัสการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น และความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามต่างๆ เช่น การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยสูง

บทที่1 ตอนที่2 เครือข่ายแบบ Peer-to-peer และ Client/Server

เครือข่ายแบบ Peer-to-peer และ Client/Server
         

ความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และแบบ  Client-Server



Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบclient-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็น serverเพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานและ bandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้ client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล
ระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์หลักอยู่หนึ่งเครื่อง เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องแม่ข่าย ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรม และแชร์ไฟล์หรือโปรแกรมนั้นให้กับเครื่องลูกข่าย อีกทั้งยังทำหน้าที่ประมวลผล และส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปให้เครื่องลูกข่าย ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในเครือข่ายที่ร้องขอ เข้ามา รวมทั้งเป็นยังผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด

โดยสรุป คือ ความแตกต่างอยู่ที่ตัวรับส่งข้อมูล

บทที่1 ตอนที่2 ประโยชน์ของเครือข่ายแลน

ประโยชน์ของเครือข่ายแลน
         การแชร์หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

        1. แชร์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
  • หน่วยความจำ (Mass Storage Server) ได้แก่ ฮาร์ดิสก์ เทปไดรฟ์ และออปติกคัลดิสก์
  • อุปกรณ์เอาท์พุท (Output Server) ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกซ์ แบบอิงค์เจ็ต หรือแบบเลเซอร์ เครื่องฉายวิดีโอโปรเจคเตอร์ และจอวิดีโอขนาดใหญ่ เป็นต้น
  • อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Server) ได้แก่ โมเด็ม บริดจ์ เราเตอร์ เกตเวย์ และเครื่องแฟกซ์ เป็นต้น
2. แชร์ซอฟต์แวร์ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ซอร์ฟแวร์ซึ่งเครื่อง PC ของตนไม่มีซอร์ฟแวร์นี้ติดตั้งอยู่ เช่น เครื่องที่ใช้อยู่ไม่สามารถใช้โปรแกรมบางโปรแกรมได้ สามารถที่จะเรียกใช้โปรแกรมจากเครื่องที่สามารถใช้ได้มาทำงานในเครื่อง PC ของตน รวมทั้งยังสามารถสั่งพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได
3. แชร์ไฟล์ข้อมูล ไฟล์ข้อมูลเพียงไฟล์เดียวที่อยู่ในไฟล์เซิร์พเวอร์ สามารถให้บริการเรียกใช้จากผู้ใช้ได้ทีละหลายคน เป็นการประหยัดเนื้อที่หน่วยความจำในการเก็บรักษาไฟล์ข้อมูล  นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถติดต่อขอใช้หรือเรียกดูไฟล์ข้อมูลจากเครือข่ายภายนอก ผ่านทางเราเตอร์หรือเกตเวย์ได้อีกด้วย



 ประหยัดค่าใช้จ่าย
        1. ประหยัดฮาร์ดแวร์ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ประสิทธิภาพสูง (ราคาแพง) เพียงเครื่องเดียวรองรับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพและความรวดเร็วได้ทั้งสำนักงาน
        2. ประหยัดค่าซอร์ฟแวร์ เพราะมีซอร์ฟแวร์อยู่เพียงก็อบปี้เดียวก็สามารถเรียกใช้ได้ทั่วกัน         
3. สามารถรวมเป็นเครือข่ายเดียวกัน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของงานที่ซ้ำซ้อนได้
        4. ประหยัดค่าติดตั้งและค่าดูแลรักษา เพราะระบบใหม่สามารถติดตั้งได้ง่ายและสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้งานได้อีก


สะดวกกับผู้ใช้งาน
        1. ผู้ใช้สามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ง่าย
        2. ตัดปัญหาเรื่องไฟล์ข้อมูลหายหรือต้องเตรียมไฟล์ข้อมูลสำรอง เพราะไฟล์เซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่สำรองข้อมูลแทนให้
        3. สะดวกกับผู้ใช้งานจากจุดหนึ่งที่จะเข้าไปใช้ไฟล์ข้อมูลของผู้ใช้งานในอีกจุดหนึ่งซึ่งใช้เก็บสำรองไฟล์ข้อมูลนั้นไว้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์
        4. สามารถส่งข้อความตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้ได้ง่ายด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
        5. ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ฮาร์ดแวร์คุณภาพดีๆได้
        6. ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูล ข้อความ และซอร์ฟแวร์กับระบบอื่นภายนอกเครือข่ายได้ง่าย
        7. สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น (ขึ้นอยู่กับชนิดของสายสื่อสารและรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายด้วย)


ง่ายต่อการควบคุม
        1. สิทธิหรือขอบเขตในการเข้าไปใช้งานในเครือข่ายสามารถกำหนดและควบคุมได้จากผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมเครือข่ายเพียงคนเดียว
        2. ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่างแบบสามารถทำงานร่วมกันได้
        3. ระบบมีความเชื่อถือได้สูง
        4. สามารถทำการขยายระบบเพิ่มจุดผู้ใช้ในเครือข่ายได้ง่าย
        5. เหมาะสมกับระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation หรือ OA)



ข้อเสียและข้อจำกัดของ LAN

       
1. ยังมีระบบอื่นที่ยังสามารถทำงานได้ดีเช่นเดียวกันหรือดีกว่าสำหรับงานในระบบสำนักงาน เช่น ระบบ online ซึ่งมีใช้กันมาก่อนระบบ LAN ระบบสวิตชิ่งดิจิตอล PABX หรือตู้ชุมสายอัตโนมัติในอาคารซึ่งสามารถสื่อสารข้อมูลทั้งเสียงและข้อมูลได้เช่นเดียวกับ LAN โดยผ่านทางสายโทรศัพท์
2. ซอร์ฟแวร์ที่ใช้กับระบบ LAN ในปัจจุบันยังพัฒนาได้ไม่ดีเทียบเท่ากับซอร์ฟแวร์ในระบบของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรมซึ่งมีมาก่อน และราคาของซอร์ฟแวร์เฉพาะสำหรับระบบ LAN ยังมีราคาสูงอยู่
3. ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับระบบในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม
4. เนื่องจากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆมีความหลากหลายอยู่มาก จึงยากต่อการควบคุมให้มีมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกัน และยุ่งยากต่อการดูแลรักษา
5. ระบบฐานข้อมูลเป็นแบบกระจายไปตามจุดผู้ใช้ต่างๆจึงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่1 ตอนที่2 ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ

1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
       
         1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง 
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล


1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณ
กว้าง
เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย


2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1 Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
        เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี

2.2 Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
          เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่องClient


3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์  
การแบ่งประเภทเครือข่ายตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กทราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตนั้นมีการควบคุม เอ็กส์ทราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน

3.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี    อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค     นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม     เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก   ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ   ความปลอดภัยของข้อมูล   เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้
อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง

3.2 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล

ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.3
 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม

เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้