วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 เรื่องที่5 เทคโนโลยีโทรคมนาคม

เรื่อง เทคโนโลยีโทรคมนาคม

การสื่อสารข้อมูลยังเกี่ยวข้องกับการส่งผ่านข้อมูลทั้งระยะใกล้และระยะไกล โดยเฉพาะการส่งผ่านข้อมูลระยะไกลนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีโทรคมนมคมเข้าช่วย เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ ที่เป้นการนำเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะที่มีอยู่แล้วมาใช้สื่อสารระยะไกล เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่เทคโนโลยีคมนมคมก็ใช่ว่าจะมีเพียงแต่เครือข่ายโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว และต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีคมนาคม โทรเลข การทำงานของโทรเลข จะใช้วิธีการแปลตัวอักขระให้เป็นรหัส จากนั้นก็จะทำการแปลรหัสดังกล่าวให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งผ่านสื่อกลาง เช่น สายทองแดงเพื่อไปยังปลายทาง เมื่อปลายทางได้รับก็จะทำการถอดรหัสให้เป็นข้อความ โทรพิมพ์ เป็นรูปแบบของการบริการโทรเลขชนิดหนึ่ง แต่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกันได้ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดที่เป็นได้ทั้งเครื่องรับส่งข้อมูลในตัวเดียวกัน โทรพิมพ์สามารถสื่อสารกันได้ด้วยการอาศัยช่องสัญญาณและชุมสายที่มีการเชื่อมต่อกันกับเครื่องโทรพิมพ์ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยข้อความที่ส่งถึงกันจะทำได้ด้วยการพิมพ์ข้อความลงบนกระดาษพิมพ์ของทั้งสองฝ่าย ถึงแม้ว่าฝ่ายผู้รับจะไม่มีพนักงานคอยรับข้อความ เครื่องก็จะสามารถพิมพ์เองและหยุดได้เองโดยอัติโนมัติ โทรสาร เครื่องโทรสารเป็นการนำเทคนิคของแสงที่กราดลงบนเอกสารต้นฉบับ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อความและภาพ จากนั้นก็จะแปลงข้อมูลมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปตามสายโทรศัพท์ เมื่อฝั่งรับได้รับข้อมูลจากฝั่งส่ง ก็จะนำข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้านั้นมาเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่เหมือนกับต้นฉบับ โทรศัพท์ เป็นอุปกรณ์ที่บ้านเรือนทั่วไปมีใช้งานเกือบทุกครัวเรือน ปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ได้พัฒนาและเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงการใช้ชุมสายโทรศัพท์ในการสื่อสารนั้นมีราคาถูกและเป็นที่นิยม ตัวอย่างเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านเรือน ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับโมเด็ม นอกจากนี้ก็ยังมีระบบ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ใช้ตามบ้านสามารถใช้บริการได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ที่พักอาศัยนั้นจะต้องมีการวางระบบเครือข่ายเพื่อรองรับระบบ ADSL ด้วย โทรทัศน์ เป็นระบบการสื่อสารที่ใช้ในการเผยแพร่ภาพกระจายในย่านความถี่สูง เช่น ที่ผ่านความถี่สูง VHF (Very High Frequency) หรือผ่านความถี่สูงมาก UHF (Ultra High Frequency) ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ใช้สำหรับกิจการทางโทรทัศน์ที่สามารถแพร่สัญญาณภาพไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทยมีอยุ่ 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบออกอากาศทั่วไป และระบบเคเบิลทีวี ซึ่งระบบเคเบิลทีวีจำเป็นต้องสมัครสมาชิกและต้องเสียค่าบริการรายเดือน โดยสมาชิกจะได้รับเสารับสัญญาณเฉพาะ เพื่อรับคลื่นและสามารถรับชมได้ วิทยุกระจายเสียง เป็นการสื่อสารที่ใช้คลื่นวิทยุส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาณ ด้วยการรวมกับคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกัน ทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้น ๆ เช่น คลื่น FM ที่สามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ที่จำกัด ในขณะที่คลื่น AM สามารถส่งครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างกว่า เป็นต้น ไมโครเวฟ ไมโครเวฟจัดเป็นคลื่นวิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่สูงระดับกิกะเฮิรตซ์ (GHz) คลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นเส้นตรงในระดับสายตา ดันนั้นหากลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาหรือมีตึกสูงบดบังคลื่น ก็จะทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังที่หมายได้ แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งจานรับส่งบนยอดตึกหรือยอดเขาเพื่อให้สัญญาณสามารถส่งทอดต่อไปได้อีก ดาวเทียม (Satellite) ดาวเทียมก็คือ สถานีไมโครเวฟนั่นเอง แต่เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยุ่บนเหนือพื้นผิวโลกมีลักษณะเป็นจานขนาดใหญ่โคจรห่างจากพื้นโลกประมาณ 22,300 ไมล์ ทำให้สามารถติดต่อสถานีภาคพื้นดินที่อยู่บนพื้นโลกได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น