วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 2 เรื่องแบบจำลอง OSI (OSI Model)

แบบจำลองOSI 


แบบจำลอง OSI สำหรับเครือข่าย
                กระบวนการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการสื่อสาร ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะครอบคลุมเรื่องการรับส่งข้อมูล การเข้ารหัส การตรวจจับข้อมูลผิดพลาด ดังนั้นหน่วยงานกำหนดมาตรฐาน หรือที่เรียกสั้นๆว่า ISO ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบามสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานสากล โดย ISO ได้มีการกำหนดระบบเปิดที่เรียกว่าแบบจำลง OSI (Open Systems Interconnection) เพื่อใช้สำหรับเป็นแบบจำลองเพื่อการอ้างอิงบนเครือข่ายตามมาตรฐานสากล
                จุดประสงค์ของแบบจำลอง 
OSI ก็เพื่ออนุญาตให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าพีซีคอมพิวเตอร์กับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้นใช้สถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน โดยต่างก็ใช้ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งสองระบบไม่สามารถสื่อสารกันได้ เนื่องจากเป็นคนละระบบหรือมีแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตา นั่นไม่ใช้ปัญหาด้านการสื่อสารข้อมูลที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ต่างระบบจขะไม่สามารถสื่อสารกันได้ กล่าวคือแบบจำลอง OSI นี้เจะอนุญาตให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันในสถาปัตยกรรรมสมารถสื่อสารร่วมกันได้โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ และที่สำคัญ แบบจำลอง OSI จัดเป็นแบบจำลองที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้าใจในสถาปัตยกรรมเครือข่ายลำมาประยุกต์ใช้ในระบบการสื่อสารระดับสากลภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
                แบบจำลอง 
OSI มีการแบ่งการทำงานอกเป็นลำดัลบชั้น ที่เรียกว่าชั้นสื่อสาร (layer) แต่ละชั้นสื่อสารจะมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบแตกต่างกัน การสื่อสารจะต้องเรียงกันตามลำดับชั้นสื่อสาร โดยชั้นสื่อสารที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะให้บริการแก่ชั้นสื่อสารที่อยู่ลำดับสูงกว่า ไม่สารถสื่อสารข้ามลำดับชั้นได้
             แบบจำลอง 
OSI ประกอบไปด้วยชั้นสื่อสาร 7 ชั้นด้วยกัน ซึ่งแสดงไว้ในรูปที่ 1.6 โดยแนวคิดของการแบ่งเป็นชั้นสื่อสารมีเหตุผลสำคัญดังนี้
              1.การแบ่งออกเป็นชั้นสื่อสาร ก็เพื่อลดความซับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
2.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารจำแนกบทบามหน้าที่ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน
3.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
4.เพื่อให้การทำงานในแต่ละชั้นสื่อสารสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
5.เพื่อป้องกันกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนบนชั้นสื่อสารหนึ่งๆ ม่ให้เกิดผลกระทบต่อชั้นสื่อสารในลำดับอื่นๆ
6.จำนวนชั้นสื่อสารต้องมีจำนวนเหมาะสมเพียงพอต่อการจำแนกหน้าที่ มิใช่มีชั้นสื่อสารมากเกินความจำเป็นหรือน้อยเกินไป
7.ชั้นสื่อสารการประยุกต์
6.ชั้นสื่อสารการนำเสนอข้อมูล
5.ชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างสื่อสาร
4.ชั้นสื่อสารเพื่อนำส่งข้อมูง
3.ชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่าย
2.ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล
1.ชั้นสื่อสารทางกายภาพ
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 1.6 แบบจำลอง OSI ที่ประกอบไปด้วยชั้นสื่อสาร 7 ชั้น
สำหรับชั้นสื่อสารทั้ง 7 ในแบบจำลอง OSI นี้ แต่ละชั้นสื่อสารจะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.             ชั้นสื่อสารทางกายภาพ (Physical Layer) จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางกายภาพด้านการสื่อสารระหว่งอุปกรณ์ ด้วยการกำหนดวิธีควบลคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับบิต จะต้องใช้แรงดันไฟฟ้าเท่าใด ใช้สายเคเบิลชนิดใดในการรับส่งสัญญาณ การส่งข้อมูลเป็ฯแบบทิศทางเดียวหรือสองทิศทาง จะต้องเริ่มต้นติดต่อหรือสิ้นสุดการติดต่ออย่างไร รวมถึงลักษณะการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในเครือข่ายเป็นต้น
2.             ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล (Data Link Layer) เป็นชั้นสิ่สารที่รวบรวมข้อมูลจากชั้นสื่อสารทางกายภาพ ด้วยการกำหนดรูปแบบของข้อมูลที่ส่งผ่านยภายในเครือข่ายให้อยู่ในรูปแบบของ เฟรม (Frame) ทั้งนี้จะรวมถึงวิธีหรือกลไกในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย กล่าวคือ การส่งข้อมูลในเครือข่าย ข้อมูลที่ถูกส่งไปมีโอกาสที่จะสูญหายหรือมีความเสียหายบางส่วนได้ ดังนั้นชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูลนี้จะดำเนินการตรวจสอบความผิดปกติเหล่านี้ได้ โดยหากพบความผิดปกติขึ้น ก็จะแจ้งข้อมูลกลับไปยังผู้ส่งให้รับทราบเพื่อส่งข้อมูลชุดเดิมซ้ำกลับมาใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งข้อมูลซ้ำกลับมาใหม่ในบางครั้งอาจทำให้เกิดข้อมูลชุดเดียวกันซ้ำกันถึง 2 เฟรมก็ได้ เนื่องจากชุดข้อมูลที่ส่งไปครั้งแรกความจริงแล้วอาจไม่ได้สูญหายไปไหน แต่อาจเกิดปัญหาระหว่างการเดินทางส่งผลให้ต้องใช้เวลาเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่าปกติทั่วไป ดังนั้นกรณีที่ค้นพบข้อมูลชุดเดียวกันซ้ำถึง 2 เฟรม ก็จะต้องมีกลบไกในการกำจัดเฟรมข้อมูลซ้ำซ้อนเหล่านี้ออก
3.             ชั้นสื่อสารควบคุมเครือข่าย (Network Layer) จะทำหน้าที่จัดการกับรูปแบบข้อมูลที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) ที่จัดส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายย่อยต่างๆจำนวนมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์คือ จะต้องมีการวางเส้นทางเดินของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางอย่างไร เพื่อให้โหนดที่ทำหน้าส่งข้อมูล สมารถส่งข้อมูลไปยังโหนดปลายทางได้ในที่สุด
4.             ชั้นสื่อสารเพื่อนำส่งข้อมูล (Trasport Layerเป็นชั้นสื่อสารที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดที่มีการรับส่งกันระหว่างโหนดต้นทางจนกระทั่งถึงโหนดปลายทาง ด้วยการรับประกันว่าข้อมูลจะถูกส่งไปถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน และอาจจำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลใหม่ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
5.             ชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างสื่อสาร (Session Layer) ชั้นสื่อสารนี้จะดูแลและจัดการการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างคอนเน็กชั่นเพื่อการติดต่อสื่อสารไปจนกระทั่งยุติการสารสื่อด้วยการยกเลิกคอนเน็กชั่นระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม หสกการสื่อสารในชั้นนี้เกิดความล้มเหลวขึ้นมา ย่อมทำให้ข้อมูลเสียหาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มต้นการทำงานรอบใหม่บนหน้าต่างสื่อสารนั้น ตัวอย่างเช่น มีการเปิดหน้าต่างสื่อสารเพื่อการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างต้นทางไปยังปลายทาง หากเกิดการส่งข้อมูลล้มเหลวไปกลางคัน ก็อาจจำเป็นต้องยกเลิกหน้าต่างสื่อสารนั้น และเปิดหน้าต่างสื่อสารใหม่เพื่อดำเนิการถ่ายโอนข้อมูลกันรอบใหม่ เป็นต้น
6.             ชั้นสื่อสารนำเสนอข้อมูล (Presentatiion Layer) จะดำเนินการแปลงรูปแบบข้อมูลที่ได้รับมาจากชั้นสื่อสาการประยุกต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับรหัสแทนข้อมูลที่อาจมาจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน เช่น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ใช้รหัสแทนข้อมูลแบบ EBCDIC ในขณะที่เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ใช้รหัสแทนข้อมูลแบบ ASCII ดังนั้นชั้นสื่อสารนี้จะดำเนินการจัดการเพื่อให้ทั้งสองฝั่งสามารถเข้าใจความหมายและรับทราบข้อมูลที่ตรงกัน ถึงแม้คอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันจะใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันก็ตาม
7.             ชั้นสื่อสารการประยุกต์ (Application Layer) เป็นชั้นสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร ผู้ใขช้งานสามารถใช้โปรแกรมประยบุกต์ต่างๆเพื่อเข้าถึงเครือข่าย โดยจะมีอินเตอร์เฟซเพื่อให้การโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันจะใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันก็ตาม
ภายหลังที่ได้ทราบถึงภาระหน้าที่ของชั้นสื่อสารทั้ง 7 บนแบบจำลอง OSI  แล้ว ก็จะพบว่าชั้นสื่อสารในแต่ละชั้นแบบจำลอง OSI นั้นจะมีบทบาทหน้าที่ค่อนข้างชัดเจน ซึงไม่ด้แตกต่างจากเหตุการณ์การดำเนินธุรกิจของมนุษย์เลย โดยพิจารณาจากตารางที่ 1.1 ซึ่งเป็นตารางเปรียบเทียบระหว่างแบบจำลองOSI กับตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจ ที่สามารถทำให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละชั้นสื่อสารได้มากยิ่งขึ้น

ตารางที่ 1.1 การเปรีบยเทียบแบบจำลอง 
OSI กับตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจ
แบบจำลอง OSI
ภาระหน้าที่
เปรียบเทียบกับตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจ
7.ชั้นสื่อสารการประยุกต์
โปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่อำวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ตามความต้องการ
สินค้าสำเร็จรูปที่ผู้ซื้อสมารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
6.ชั้นสื่อสารนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจความหมายตรงกันที่งสองฝั่ง
เคาน์เตอร์แสดงสินค้า
5.ชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างการสื่อสาร
ควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางกับปลายทางให้สามารถสื่อสารได้จนสำเร็จ
เจ้าของร้านโทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้าเพื่อสอบถามยืนยันถึงสินค้าที่ได้จัดส่งไป
4.ชั้นสื่อสารเพื่อนำส่งข้อมูล
การรับประกันการส่งข้อมูลให้ถึงมือผู้รับอย่างแน่นอน
การจัดส่สินค้า หรือการส่งพัสดุลงทะเบียนไปรษณีย์
3.ชั้นสื่อสารควบคุม
การกำหนดเส้นทางเพื่อารส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
การกระจายสินค้าไปตามแต่ละพื้นที่
2.ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูล
การจัดรูปแบบข้อมูลในรูปแบบของเฟรมข้อมูล
การบรรจุสิค้าลงในหีบห่อพร้อมระบุที่อยู่ปลายทาง
1.ชั้นสื่อสารทางกายภาพ
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ สายสัญญาณ และอุปกรณ์เชื่อมต่อ
รถบรรทุกสินค้า และถนน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น