วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 1 ชนิดของสายเคเบิ้ล

ชนิดของสายเคเบิ้ล
สายเคเบิลชนิดที่หุ้มด้วยอลูมิเนียม (ชนิด ALS ) 
สายเคเบิลชนิดที่หุ้มด้วยอลูมิเนียม (ชนิด ALS ) ได้มาจากสายตัวนำเคลือบฉนวนที่บรรจุในท่ออลูมิเนียม ซึ่งปราศจาก
รอยตะเข็บ ไม่ยอมให้อะไรไหลผ่านได้ รวมทั้งยาวต่อเนื่องและต่อกันอย่างเหนี่ยวแน่น สามารถใช้งานแบบเดียวกับชนิด MI
ถ้าหาก ใช้ข้อต่อปลายสายที่ถูกต้องเหมาะกับงาน

 
สายเคเบิลที่หุ้มด้วยโลหะ (ทั้งชนิด AC ACR ACT ACV และ ACL) 
สายเคเบิลที่หุ้มด้วยโลหะ (ทั้งชนิด AC ACR ACT ACV และ ACL) รวมทั้งสายตัวนำเคลือบฉนวนและมีเครื่องห่อหุ้ม โลหะที่ยืดหยุ่นได้ เหมาะกับระบบที่ใช้แรงดันไม่เกิน 600 โวลท์ สายเคเบิล
ที่หุ้มเกราะชนิด AC ACH ACHH และ ACT (ชนิดนี้รวม ทั้งสายตัวนำที่มีฉนวนเป็นพวกยางและพลาสติกทนความร้อน ที่มี
ทั้งแถบยึดเหนียว ภายในเกราะโลหะที่ขดเป็นวง) ใช้สำหรับการเดินสายภายในทั่วไป ยกเว้นในที่ที่มีความชื้นหรือภายใน
กำแพงอิฐบล็อคที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินชนิด ACV และ ACR (สายเคเบิลหุ้มเกราะที่ทำจากสายตัวนำที่เคลือบฉนวน) จำนวน
ผ้าลินินชุบวาร์นิช (varnished cambric) หรือยาง อาจถูกเลือกไปใช้งานอุตสาหกรรม และวงการค้าที่แห้งและเปิดโล่ง ส่วน
ชนิด ACL (สายเคเบิลหุ้มเกราะที่ทำจาก สายตัวนำซึ่งหุ้มด้วยตะกั่ว) อาจใช้ติดตั้งในที่ที่โดนอากาศ และมีความชื้นอยู่สม่ำเสมอ
หรือฝังดิน หรือที่ที่มีอันตรายจากน้ำมัน น้ำมันก๊าด

ในที่ที่สายเคเบิลหุ้มเกราะชนิด interlocked 
ในที่ที่สายเคเบิลหุ้มเกราะชนิด interlocked ใช้ในท้องถิ่นใดได้ ก็มักนิยมใช้เพื่อให้ผ่านสิ่งกีดขวางอันได้แก่ ตัวอาคาร
เสาคาน หรือ wall offsets ส่วนประกอบที่สำคัญๆ มีสายตัวนำเคลือบฉนวน ที่มีหรือไม่มีเครื่องห่อหุ้มป้องกัน พิเศษและห่อไว้
ในเกราะโลหะที่ยืดหยุ่น ทั้งยังใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้อีกด้วย การวางสายแบบนี้จึงปลอดภัย เมื่อเทียบกับ ท่อโลหะที่
แข็งแกร่ง ซ้ำราคาติดตั้งยังถูกกว่า เพราะลดปริมาณรายการของที่จะใช้ อาทิเช่น กล่องดึง ไม่จำเป็นต้องมีข้อต่อ เป็นช่วงๆ และ
ยังกำจัดการดัดท่อและการต่อท่อด้วย และยังเดินสายได้ต่อเนื่องเป็นระยะทางยาวๆ


สายเคเบิลหุ้มเกราะแบบ interlocked 
สายเคเบิลหุ้มเกราะแบบ interlocked ให้ความปลอดภัยมากเมื่อเทียบกับท่อโลหะอันแข็งแกร่ง สภาพความยืดหยุ่น
ทำให้มันงอตามสิ่งกีดขวาง และยังสามารถติดตั้งอย่างต่อเนื่องได้เป็นทางยาวๆ โดยไม่ต้องมีข้อต่อหรือกล่องดึง และยังค้ำ
ได้ด้วย ที่ยึดหลายแบบ เช่น พวก trays troughs ladder และ hangers ทำให้ตรวจรอยต่อแท็ป วางสายเคเบิลใหม่ และเพิ่มเติม
ได้ง่าย
การเลือกการเดินสายไฟวงจรย่อย ควรพิจารณาองค์ประกอบดังนี้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสม่ำเสมอหรือไม่ มีการ
เคลือบขี้ผึ้งหรือซิลิโคนเพื่อช่วยให้ดึงง่ายขึ้นหรือไม่ มีความเหนียวและความยืดหยุ่นเพียงใด สามารถทนกระแส ได้แค่ไหน
ฉนวนและเครื่องห่อหุ้มต้องผจญกับสภาวะทางไฟฟ้า ทางเคมี ทางกายภาพ อุณหภูมิ และความชื้นอย่างไร
เราสามารถใช้ฉนวนร่วมกันได้มากมายหลายแบบ ทั้งนี้เพราะฉนวนและสิ่งห่อหุ้มอาจใช้พวกยาง ผ้าลินินชุบวาร์นิช
กระดาษชุบน้ำมันที่มีผ้าถักหุ้มอยู่ neoprene และสิ่งห่อหุ้มชนิดตะกั่ว และเกราะชนิด interlocked ก็อาจเป็นพวกเหล็กกล้า ไม่
เป็นสนิม หรือชนิดที่ชุบสังกะสี หรือเป็นอลูมิเนียม บรอนซ์ หรือสังกะสี

สายเคเบิลที่หุ้มเกราะ 
สายเคเบิลที่หุ้มเกราะ มีทั้งที่สิ่งที่หุ้มภายนอกเป็นลวดหุ้มเกราะที่แข็งแรงมาก และพันเป็นขดแบบสปริง ล้อมรอบสาย
ตัวนำ หรืออาจเป็นเทปหุ้มเกราะที่พันรอบสายตัวนำเป็นรูปหอยโข่ง ช่วยให้ทนการกระแทกกระทั้นได้สูง โดยไม่จำเป็นต้อง
มีความยืดหยุ่นมากนัก และในงานที่ต้องทนการกัดกร่อนและปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าได้ดี สายเคเบิลหุ้มเกราะแบบที่กล่าวมาแล้ว
อาจมีเครื่องห่อหุ้ม ชนิดพลาสติกหรือ neoprene ด้วยก็ได้

สายเคเบิลที่หุ้มด้วยอโลหะ (ชนิด NM และ NMC ) 
สายเคเบิลที่หุ้มด้วยอโลหะ (ชนิด NM และ NMC ) เป็นสายตัวนำเคลือบฉนวนจำพวกยางและพลาสติกทนความร้อนอีกแบบหนึ่งที่มีหรือไม่มีสายตัวนำลงดินแยกต่างหากก็ได้
และมีเครื่องห่อหุ้มภายนอกเป็นพวกอโลหะกันความร้อนและทนไฟได้ดี ชนิด NM เป็นชนิดที่ใช้ในการเดินสายภายใน ซึ่ง
ใช้ในที่แห้งเท่านั้น (ไม่ว่าจะเปิดโล่งหรือปิดมิดชิดตาม) โดยที่ต้องไม่โดนควันหรือไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน หรือต้อง ไม่ฝัง
คอนกรีต ศิลา หรือปูนพลาสเตอร์ ส่วนชนิด NMC ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนและกันการขึ้นรา เหมาะกับงานแบบ เดียวกัน เว้น
แต่สามารถฝังในปูนพลาสเตอร์ หรือติดตั้งในร่องที่มีแผ่นเหล็กกล้าหนา 1/16 นิ้ว วางซ้อนไว้เพื่อป้องกัน อันตรายจากตะปู
ควงที่จะเข้าไป ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อ 336 ของ NEC

service entrance 
service entrance สายเคเบิลอาจประกอบด้วยสายตัวนำทองแดงหรืออลูมิเนียม (A) หุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน (B)
และ ผ้าเทปกันความชื้น (C) ระหัสสีเพื่อจำแนกวงจรโดยทั้งหมดหุ้มด้วยสายนิวตรอนที่มีจุดศูนย์กลางร่วม (D) สายชนิด SE
แบบ U ซึ่งมิได้หุ้มเกราะไว้ แต่หุ้มด้วยเทปต่างๆ (F) และมีสิ่งถักชั้นนอก (G) เช่นแก้ว และผ้าฝ้ายที่ชุบด้วยสารกันความชื้น
และสารกันไฟ ในที่สุดก็ประทับข้อมูลที่จำเป็นลงแทนพวกที่หุ้มเกราะแบบ A ยังมีชั้นเกราะเป็นเหล็กกล้า (E) เป็นตัวกันการ
ใช้งานผิดอีกด้วย

สายเคเบิลแบบ service entrance (ชนิด ASE SE และ USE) 
สายเคเบิลแบบ service entrance (ชนิด ASE SE และ USE) เป็นสายรวมซึ่งมีสายหนึ่งไม่มี ฉนวนกัน ใส่ไว้ในเครื่อง
ห่อหุ้มที่เหมาะสมและเหมาะกับงานบริการต่างๆ ในจำพวกนี้ ชนิด SE มีเครื่องห่อหุ้ม ทนไฟและกันความชื้นได้ดี ส่วนชนิด
ASE ก็มีลักษณะสมบัติอย่างเดียวกัน รวมทั้งยังทนต่อความผิดพลาด เชิงกลได้ และชนิด USE (โดยมากใช้กับงานใต้ดิน) จึงมี
เครื่องห่อหุ้มภายนอกที่กันความชื้นเพียงอย่างเดียวก็พอ

สายป้อนไฟใต้ดินและสายเคเบิลสำหรับวงจรย่อย (ชนิด UF) 
สายป้อนไฟใต้ดินและสายเคเบิลสำหรับวงจรย่อย (ชนิด UF) มีฉนวนทั้งจำพวกยางและพลาสติกที่มีเครื่องห่อหุ้มภายนอกซึ่งกันความชื้น ทนไฟ และกันการขึ้นราได้ด้วย มักใช้วิธีฝังดิน
โดยตรงโดยอาจใช้สายป้อนไฟหรือใช้ในวงจรย่อยที่มีการป้องกันกระแสเกินที่เหมาะสม ดังในหัวข้อ 339 ของ NEC

สายเคเบิลแบบ preassembled aerial
สายเคเบิลแบบ preassembled aerial เป็นชนิดที่มีโครงค้ำในตัว มีหลายแบบ เช่น สายตัวนำเดี่ยว ใช้ในวงจรเฟสเดียว
ไม่ต่อลงดิน โยมีแรงดันไม่เกิน 5 กิโลโวลท์ และที่มี messenger แบบแข็งเป็นทางลงดิน หรือเป็นชนิดตัวนำ 3 สายที่ออกแบบไว้
อย่างเดียวกันที่กล่าวมาแล้วคือ ใช้กับแรงดันไม่เกิน 5 กิโลโวลท์หรือเป็นชนิดสายตัวนำเดี่ยวหรือหลายๆสาย ซึ่งใช้กับแรงดัน
สูงๆ และมีจุดนิวตรอนลงดิน
เกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจ ด้านทุนของการติดตั้งเคเบิลแบบ preassembled aerial ต่ำกว่าของโครงสร้างใต้ดินมาก และ
ถึงมันจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าสายไฟลอยก็ตาม ค่าใช้จ่ายประจำปีทั้งหมดของสายเคเบิลที่มีโครงค้ำในตัว โดยมากจะต่ำกว่าเพราะ
เรา ได้กำจัดการใช้เสาต้นสูงๆ ด้วยกรอบรับสาย และค่าใช้จ่ายในการตัดกิ่งไม้ ดังนั้นในที่ที่ค่าใช้จ่ายของสายเคเบิลใต้ดินไม่ใช่
เรื่องสำคัญ รวมทั้งการใช้สายไฟลอยไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว เราก็ควรใช้สายเคเบิล preassemble aerial ในงานนั้นๆ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น